Urgent Appeal

Worldwell Garment Workers’ Case
By Patchanee Kumnak
(ภาษาไทยโปรดอ่านข้างล่าง)

This report is based on interviews of forty-one workers who were unfairly laid off by Worldwell Garment Company, Limited, which operates as a subcontractor for many brand names such as Disney. The employer, Mr. Kijja Jarungponpipat, announced the company’s closure on May 1st, 2009, leaving both contract and non-contract workers jobless without advance notice. Mr. Jarungponpipat cited a lack of new orders and financial troubles as reasons for Worldwell’s abrupt closure. The company’s forty-one workers received neither the two months’ wages that they were owed, nor the compensation required by the Labour Protection Law.


Only after three weeks of the Woldwell workers’ struggles did Mr. Jarungponpipat make a late payment of owed wages to thirty-three contract workers, paying a grand total of roughly 70,000 Baht on the 21st of May. Non-contract workers received nothing. Because this compensation made up only the tiniest fraction of the two million four hundred thousand Baht that Worldwell’s former employees were owed, these workers had no choice but to continue their daily rallies in front of the factory grounds. After the Mr. Jarungponpipat made several attempts to remove the company’s automatic sewing machines and other valuable property from the premises, it became clear that he was attempting to illegally conceal these remaining assets after declaring bankruptcy, further cheating the workers of the compensation that they are owed by law. During the weeks that they stood guard by the factory gates, the workers also applied for immediate assistance through the Thai government’s “Vocational Development” program (in Thai: “Ton Kla Archeep”).

The Worldwell workers demand that Mr. Jarungponpipat pay the monthly salaries owed to the company’s eight non-contract workers, in addition to the compensation that is legally due each of the forty-one workers whose employment was terminated without advance notice. Their employer has acted with impunity, receiving no punishment from the law, despite petitions made by workers (assisted by the Thai Labor Campaign) to the Ministry of Labor, the Department of Labor Protection and Welfare, and the Samutsakorn Provincial Office of Labor Protection and Welfare.

The former employees of Worldwell demand that the state ensure that they receive the 60 days’ compensation that is their due. More importantly, the Worldwell workers demand justice of an employer to whom they have committed themselves for years, often working overtime in order to both increase their daily earnings and meet the demands of difficult production schedules Although they received little incentive pay, skill premiums, or production rewards, Worldwell’s forty-one factory employees worked hard for minimum wages that were never raised by their employer, exceeding their production targets through their dedicated service to the company.
The information below outlines Worldwell’s company structure, its place in the subcontracting chain, and the long-term exploitation of its workers that can be seen so clearly in the way in which its workers have been illegally dismissed.

Worldwell Garment Company Limited’s business

Worldwell Garment Company Limited began to run the business in 1994 with authorized capital worth twenty-five million Baht. It is located at 14 Moo 7, Sedthakid Road, Nadee Subdistrict, Muang District, Samutsakorn Province under the management of Mr. Kijja Jarungponpipat. It is a subsidiary of Worldcup Industries Company Limited, the mother company, located at 110/3-4, Ekkachai Road, Bangborn District, Bangkok and its telephone no. is 662 8996721 and fax no. 662 4151821. There are four other subsidiary companies under this mother company, namely, Asia Worldbra located on Suksawat Soi 11 Road, Bangpakok, Ratburana District, Bangkok, Thai Worldelastic at 110/3-4, Ekkachai Road, Bangborn District, Bangkok, Suparun (Commercial Tower) in front of Worldwell Garment company and Tanakom (marketing) in Bangkhae.
There were 500 workers and 60 industrial sewing machines worth over two millions Bht. each. And there were six lines of production from A to F.

Many brand names outsource orders to Worldwell Garment through agents in Thailand, as follows:

During 2003, the company produced clothes of the brand, Disney.

During 2004-2006, the company took orders from V-F (customer), producing lots of numbers of clothes of the brand Disney, Haley Davidson, Kereen, Reebok, Antigua, etc. Therefore, workers worked overtime through the year until the company hired more sub-contractors in Mae Sod such as Sieng Tai Co., Supmunkong, Furitire, Arunchai Textiles, A.T. Garment.

During 2007, the company produced clothes of School, Karena, Jockie, Snow and Sun, S. Fair.

During 2008, the company produced Triumph, School Affaria, Daniel, L.L.B, and Mamos. Anyway it reduced overtime jobs because it outsources almost all orders to sub-contractors who hire migrant workers with cheaper wages.

The employer made it his policy to reduce the number of workers about five years ago. Workers also resigned because they could survive with minimum wages, overtime hours, and few welfare benefits. Upon its closing, Worldwell employed only forty-one workers, comprising thirty-six women and five men using thirty industrial sewing machines.

Most of these employees are old. Eight people have worked at Worldwell for over ten years; four people have worked there for five to ten years; and nineteen people have worked there for one to four years. There are only ten non-contract workers comprising four people, who have worked for over ten years and six people with three or four years old of working experience. The rest are contract workers.
With or without a contract, each Worldwell employee worked extremely hard and ensured the company’s growth, profits, and continued orders. A QC worker said that the great profits of the company were in no way reflected by the wages paid to its workers. For example, the employer would pay 203 Bht. per day for contract workers, but would sell products for 700 Bht each, sending them to agents in Thailand. Triumph’s products are 1,950 of 1,600 Bht. each.
A few years ago, Triumph International Company in Thailand outsourced orders to Worldwell Garment, so the employer made some O.T. jobs available to the Worldwell workers. However, when he laid off all of his employees and closed the company on the 1st of May 2009 without paying owed wages, providing compensation, and giving advance notice. Previously, he has reduced 20%-25% of non-contract workers’ monthly salaries.

Process of Production

In the past, there were six lines of production. In each line, there were fifty workers operating six automatic sewing machines.

In making many brand names’ clothes, workers must take many steps, for example, Disney’s jackets are very delicate, so they require 100 different steps in their production, assembling the arms part, collar, etc. while Triumph’s pants are less difficult. In spite of the complex and repetitive process required for assembling such garments, Worldwell’s factory employees’ skills and capacities were excellent, as the products they assembled sold out consistently. A worker said that she could make every part of a shirt and was confident that workers made profit to their company. For example, in 2004 the company took orders from Disney about 10,000 items/week. That caused workers to work overtime four hours a day with little or no rest.

The employer had a policy for workers to work exceeding production targets in order to maximize profit by means of giving incentive pay to every line if each line could make over 200 items per day. This cash incentive amounted to roughly 200-600 Bht. per month. Due to this coercive policy, many workers resigned.

Before workers were laid off in May, the company was downsized to a minimum setup of forty-one workers who were capable of operating all stages of the production process. The remaining staff was comprised of twenty-two dressmakers including two foremen, five QC workers and their foreman, four office workers, one mechanic, one sample maker, one pattern maker, and four general staffpeople.

Wages, welfares and factory’s environment

Worldwell’s workers have lived with the minimum wage rate for a long time, and when the Thai government announced that the legal minimum wage would be raised, their employer refused to adjust their wages accordingly. In the past, they had worked for roughly one hundred Baht a day and upon their dismissal received 203 Bht. a day. The employer would give little incentive pay, skill premium, and production rewards to them, and no annual bonus. Overtime job pay was 1.5 times their normal wages.

They usually worked from eight a.m. to five p.m., taking a one hour break for lunch. If they worked overtime until seven p.m., they would keep working without a rest peiod. If they worked OT until eight p.m., they would be allowed a thirty-minute rest before starting their OT shift.
Worldwell workers received far fewer welfare benefits than those offered to workers employed by other factories nearby, which provided strainers, a canteen with cheap food, and dormitories. Worldwell’s contract workers would not receive wages when they took any kind of leave, except when they could present documents that certified their admission to a hospital, at which point they would be paid the cost of their medical care. Their employer also never provided them with a regular party on New Year’s Day, a vehicle for transporting them to and from work, or any of the other amenities that are standard among other factories in the area. The wokers’ cost of living increasing significantly when the Worldwell canteen was closed one year ago and its facilities could not be used anymore, forcing them to eat outside in an exposed area and drink from a water supply.

When the factory was new and its toilets and wok area were quite clean. Soon these facilities became filthy due to the neglect of the employer, who took no measures to maintain basic health and safety standards in the factory. Employees resorted to wearing masks while working. There is no maid for cleaning up, so they all have to help clean toilets, electric fans, etc. With minimal ventilation, the work environment was exceedingly hot in a cramped area that housed forty-one people working together.

Most workers suffered from occupationally induced ailments due to this environment, such chronic colds, asthma, aches and pains, and bladder and urinary tract infections, all of which became especially prevalent among individuals who had worked exceptionally long shifts.

The impact toward workers’ families

Somporn Kham Ai is fifty-one years old. She started working at Worldwell in 1994 and never changed her job. She is a contract worker and makes clothes. Previously, she received an estimated 8,000 Bht. per month if there were many overtime opportunities available. Upon the factory’s closure, she received less income: only around 5,000 Bht. per month.

She has two children, who currently live with their father doing farm work in Chiangrai. The younger daughter is studying undergraduate while the elder one is working. Somporn is responsible for her child as long as she remains in school with no means of support. Somporn now lives alone in Samutsakorn and is suddenly faced with high rents after moving out from the factory’s dormitory.
Having received such small wages, she regularly pays 120 Bht. a day to meet her costs of living, along with 1,500 Bht. for a rent. She is quickly eating through her savings which will not last much longer.

Wannapa Tongdaeng is thirty-five years old and has worked at Worldwell for six years. Before being fired, she received 6,000 Bht. per month. While she worked as QC, she did not receive incentive pay or skill premiums like the others.

Now she must take care of both her two children and her parents, all of whom live in her parents’ house. While she does not pay rent, she must find money for her children’s high school and primary school tuition fees. She pays about 150-180 Baht per day to meet her expenses. Her dismissal from Worldwell has caused her to take on an informal loan with a high rate of interest as she searches for a new job.

ร่วมต่อสู้กับพนักงานเวิลด์เวลล์การ์เมนท์ผู้ถูกเลิกจ้างอย่างไม่เป็นธรรม

โดย พัชนี ขำนาค

รายงานฉบับนี้เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับพนักงานบริษัทเวิลด์เวลล์การ์เมนท์ จำกัด จำนวน 41 คนที่ถูกเลิกจ้างอย่างไม่เป็นธรรม เนื่องจากนายจ้างไม่บอกล่วงหน้า อีกทั้งก่อนหน้านี้ ยังปรับลดเงินเดือนของพนักงานรายเดือน และค้างจ่ายเงินเดือนพนักงาน รายเดือนและรายวันเป็นเวลา 2 เดือนคือ เดือนมีนาคมและเมษายน และปิดกิจการโดยไม่จ่ายค่าชดเชย เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2552 นายจ้างอ้างว่าขาดทุน ไม่มีออเดอร์ (order) เข้ามา แต่ในขณะที่บริษัทในเครืออื่นๆ ยังคงดำเนินกิจการและรับสมัคร พนักงานเพิ่ม ส่วน เครื่องจักรและอุปกรณ์อื่นๆ ยังคงอยู่ครบ ไม่มีการขายทอดตลาด คนงานที่ถูกเลิกจ้างจึงต้องนั่งชุมนุม เฝ้าเครื่องจักรหน้าโรงงานทุกวันนับ ตั้งแต่ถูกเลิกจ้างเพื่อป้องกันการขนย้าย

นับตั้งแต่ถูกเลิกจ้าง พนักงานทั้งหมดพยายามต่อสู้และตอบโต้นายจ้างทุกวิถีทางเพื่อให้ทำตามข้อเรียกร้อง คือ ให้นายจ้างจ่าย ค่าชดเชย ค่าจ้างค้างจ่าย และค่าไม่บอกกล่าวล่วงหน้า จนขณะนี้ นายจ้างได้จ่ายค่าจ้างค้างจ่ายแก่พนักงานรายวันเท่านั้น เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2552 รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 70,000 บาท จาก จำนวนทั้งหมดที่ต้องจ่ายแก่ทุกคนประมาณ 2,400,000 บาท ทำให้ต้องมี การกดดันต่อไป ไม่ว่าจะเป็นวิธียื่นคำร้องต่อรัฐมนตรีกระทรวงแรงงาน เจ้าหน้าที่สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน การรณ รงค์ทางสื่อ การชุมนุม ประท้วงหน้าบริษัทแม่ เป็นต้น แต่อีก ด้าน นายจ้างยังคงลอยนวล ไม่ถูกดำเนินคดีตามกฎหมายแต่อย่างใด และส่งทนายมาเป็นตัวแทนพบลูกจ้างทุกครั้ง พนักงานคนหนึ่งรู้สึกว่า นายจ้างไม่สนใจพนักงานเลยแม้แต่น้อย การทำงานของ ข้าราชการก็เป็นไปอย่างล่าช้า และกฎหมายเข้าข้างนายจ้าง

บริษัทเวิลด์เวลล์การ์เมนท์ จำกัด ผลิตเสื้อผ้ายี่ห้อดัง เช่น ดิสนีย์ ฮา เลย์ เดวิดสัน สคูล ไทรอัมพ์ เป็นต้น รับออเดอร์ผ่านบริษัทตัว แทนในประเทศไทย บริษัทเวิลด์เวลล์การ์เมนท์ เป็นบริษัทในเครือของบริษัทเวิลด์คัพ อินดัสทรี่ จำกัด ซึ่งมีเจ้าของคนเดียวกันคือ นายกิจจา จรุงผลพิพัฒน์

ข้อมูลต่อไปนี้จะแสดงถึงลักษณะการดำเนินกิจการของบริษัท การผลิตสินค้ายี่ห้อดัง ที่มุ่งแสวงหากำไร บนหยาดเหงื่อและค่าแรง ราคาถูก รวมไปถึงการบริหารงานที่เอารัดเอาเปรียบพนักงาน และผลกระทบต่อครอบครัวคนงานที่ถูกเลิกจ้าง


การดำเนินกิจการของบริษัทเวิลด์เวลล์การ์เมนท์ จำกัด

บริษัทเริ่มเปิดกิจการเมื่อปี พ.ศ.2537 ด้วยทุนจดทะเบียนปัจจุบัน 25 ล้านบาท กรรมการผู้จัดการใหญ่คือ นายกิจจา จรุงผลพิพัฒน์ ตั้งอยู่เลขที่ 14 หมู่ 7 ถนน เศรษฐกิจ ต.นาดี อ.เมือง จ.สมุทรสาคร โทรศัพท์ 662-8996721 แฟกซ์ 662-4151821 เวิลด์เวลล์การ์ เมนท์เป็นบริษัทในเครือของบริษัท เวิลด์คัพอินดัสทรี่ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทแม่ ตั้งอยู่ที่110/3-4 ถ.เอกชัย เขตบางบอน กรุงเทพฯ และยังมีบริษัทในเครืออีก 4 บริษัท คือ 1.บริษัทเอเซียเวิลด์บรา จำกัด ถนนสุขสวัสดิ์ซอย 11 บางประกอก ราษฎร์บูรณะ กรุงเทพ ฯ 2.บริษัทไทยเวิลด์อิลาสติค จำกัด 110/3-4 ถ.เอกชัย แขวงบางบอน กรุงเทพฯ 3.บริษัท ทรัพย์อรุณ จำกัด (อาคารพานิชย์) อยู่หน้าบริษัทเวิลด์เวลล์ การ์เมนท์ จำกัด 4.บริษัทธนาคม (ทำตลาด) อยู่ที่บางแค

แรกเริ่มมีพนักงานประมาณ 500 คน มีเครื่องจักรอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ทันสมัยจำนวน 60 เครื่องๆ ละประมาณ 2 ล้านกว่าบาท แบ่งสายการผลิตทั้งหมด 6 line คือ line A-F ตามลำดับ

ลักษณะการรับงานของลูกค้า บริษัทรับออเดอร์จากยี่ห้อดังจากต่างประเทศ ผ่านตัวแทนในประเทศไทย เช่น

- ปีพ.ศ. 2546 รับผลิตเสื้อของยี่ห้อดิสนีย์

- ปีพ.ศ.2547-2549 ผลิ ตออเดอร์ของลูกค้าบริษัทตัวแทนในประเทศไทย คือ วีเอฟ จำนวนหลายยี่ห้อ เช่น ฮาเล่ย์เดวิดสัน เครีน รีบ็อค แอนติกัว ซึ่งแต่ละยี่ห้อ สั่งผลิตเป็นจำนวนมาก จึงทำให้มีการทำงานล่วงเวลา (โอที) กันอย่างต่อเนื่อง และมากจนกระทั่งบริษัทเวิลด์เวลล์ การ์เมนท์ ได้ส่งงานจำนวนหนึ่งไปให้โรงงานเหมาช่วง (Sub-contract) ทำที่อำเภอแม่สอด ได้แก่ บริษัทเสียงไถ่, ทรัพย์มั่นคง ,ฟูลี่ไทร์, อรุณชัยเท็กซ์ไทน์, เอ.ที.การ์เม้นท์

- ปีพ.ศ.2550 ผลิตยี่ห้อสคูล, คารีน่า, จ็อกกี้, สโนว์แอนด์ซัน, เอสแฟร์ พนักงานทำงานโอทีเป็นบางช่วง เพราะบริษัทเริ่มส่งเสื้อผ้าให้โรงงานเหมาช่วงทำเป็นจำนวนมาก

- ปีพ.ศ.2551 ผลิตยี่ห้อไทรอัมพ์, สคูล, แอฟพาเรีย, แดเนียล, แอลแอลบีน, มามอท, แต่บริษัทได้ลดโอทีของพนักงานทั้งหมด เนื่องจากบริษัทส่งออเดอร์ไปตามโรงงานเหมาช่วงเกือบทั้งหมดจนถึงปี พ.ศ.2552 ให้คนงานพม่าทำด้วยค่าแรงราคาถูก

บริษัท เริ่มลดคนงานในช่วงระยะ 5 ปีที่ผ่านมา บวกกับคนงานทยอยลาออกโดยสมัครใจเป็นจำนวนมาก เพราะรายได้น้อยมาก ไม่มีโอที และสวัสดิการเทียบเท่าโรงงานใกล้เคียง จากทั้งหมดที่มี 500 คน เหลือ 300 คน จนล่าสุดเหลือเพียง 41 คน ทำงานกับเครื่องจักร 30 กว่าเครื่อง ที่เหลือวางชิดมุมห้อง แม้ว่าจะให้คนงานพม่าผลิต แต่คนงานที่สมุทรสาครต้องมาแก้ไขงาน เสื้อผ้าต้องถูกนำมาซ่อม เช่น นำกลับมา 1,000 กว่าตัว แก้ไข 3-4 จุดจึงจะสมบูรณ์

และในช่วง 2-3 ปีล่าสุด ที่บริษัทรับงานเหมาช่วงผลิตเสื้อผ้าจากโรงงานไทรอัมพ์ในเมืองไทย บริษัทนานๆ จะปล่อยให้ทำโอทีบ้าง จนในที่สุดเริ่มมีมาตรการทีละขั้น ได้แก่ 1) ลดเงินเดือนของพนักงานรายเดือน เป็นเวลา 2 เดือน จากเงินเดือน 10,000 กว่าบาท เหลือจ่ายให้เพียง 6,000-8,000 บาท 2) ลดเบี้ยขยัน ไม่จ่ายเงินพักร้อนของพนักงานรายวัน/รายเดือน 3) ไม่ได้รับเงินในวันที่มีสิทธิลาป่วย ลากิจ และ 4) พนักงานทั้งหมด 41 คนถูกเลิกจ้างโดยไม่มีการบอกกล่าวล่วงหน้า จากจำนวนนี้ มีพนักงานรายเดือน 8 คนและสายการผลิต 33 คน

กระบวนการผลิตเสื้อผ้า

ช่วงเปิดกิจการ จากคนงานทั้งสิ้น 500 คน ทุกคนเป็นพนักงานประจำ ผ่านการทดลองงานและรับบรรจุเป็นพนักงาน ในกระบวนการ ผลิตประกอบด้วย พนักงานฝ่ายผลิตประจำไลน์ (line) ทั้งหมด 6 ไลน์ ได้แก่ line A-F แต่ละไลน์มีคนงานจำนวน 50 คน และเครื่อง จักรไลน์ละ 6-7 เครื่อง

การ ตัดเย็บเสื้อผ้ายี่ห้อดังจะมีหลายขั้นตอน เช่น เย็บเสื้อถึงร้อยขั้นตอน โดยเฉพาะเสื้อแจ็กเก็ตของดิสนีย์ มีลวดลายมาก จึงมีความ ยากกว่าการเย็บกางเกงของไทรอัมพ์ ซึ่งใช้ขั้นตอนเย็บ 60-70 ขั้นตอน แต่ด้วยเครื่องจักรทันสมัยทำให้งานลุล่วงได้เป็นอย่างดี คน งานคนหนึ่งเล่าว่า สินค้าที่คนงานเวิลด์เวลล์ผลิต ลูกค้าขายได้ทุกชิ้น หรือในบางครั้งโกดังแทบไม่มีสินค้าค้าง หากจะเหลือก็จำนวน น้อยเฉพาะที่เป็นของตำหนิ สามารถสร้างกำไรให้นายจ้าง เช่น ช่วง ปี 47-49 ที่ยี่ห้องดิสนีย์ส่งออเดอร์มายังบริษัทจำนวน 4,000-5,000 ตัวต่อครั้ง จำนวน 2 ครั้ง/สัปดาห์ ฉะนั้นสัปดาห์หนึ่งจะรับออเดอร์มาประมาณ 10,000 ตัว และมีตู้คอนเทนเนอร์มารับสินค้า ถึงที่ คนงานต้องทำงานโอทีถึงวันละ 4 ชั่วโมง ขยายการทำงาน ทำงานหนัก พักผ่อนน้อย

บริษัทเริ่มมีนโยบายให้แต่ละไลน์ทำงานแบบเหมาช่วงในช่วงปี 2548 เพื่อให้ได้กำไรสูงสุด จำนวนผลผลิตมากขึ้น ใช้ ระบบแข่งขัน กันทำยอดการผลิต คือ หากสามารถทำยอดได้เกิน 200 ตัว ทุกคนจะได้เงินรางวัลผลผลิต เบี้ยขยัน ค่าฝีมือสำหรับคนที่เย็บใน ตำแหน่งที่ยาก-ง่ายตามลำดับ ดังนั้น หากทำยอดเกินจะได้รับรายได้คนละประมาณ 100-300/วีค คนงานคนหนึ่งซึ่งทำงานมาเป็นเวลานาน มีฝีมือในการเย็บเสื้อผ้าได้ทุกตำแหน่งไม่ว่ายากหรือง่าย เช่น ส่วนแขน และส่วนอื่นๆ เล่าให้ฟัง และด้วยนโยบายดังกล่าว กดดันให้คนงานลาออกเป็นจำนวนมาก

คน งานคิวซีคนหนึ่ง เล่าว่า บริษัทได้กำไรจากเสื้อผ้าตัวหนึ่งมากกว่าค่าแรงที่จ่ายให้คนงาน กล่าวคือ คนงานทำงานด้วยค่าแรงวันละ 203 บาท ผลิตเสื้อผ้าประมาณวันละ 200 ตัว นายจ้างส่งงานให้ตัวแทนยี่ห้อในประเทศไทยในราคาตัวละ 700 บาท (ราคาอาจต่างกันตามยี่ห้อ) หรือเช่นสินค้าไทรอัมพ์ หากยิงป้ายจากบริษัทไปจะเป็นราคา 1,950 บาทต่อตัว หรือ 1,600 บาท แล้วแต่ชนิด ซึ่งราคาเหล่านี้แพงกว่าค่าแรงที่จ่ายให้พนักงาน

ปัจจุบันการผลิตลดขนาดลง ด้วยคนงาน 41 คน ประกอบด้วย พนักงานเย็บผ้า 22 คน หัวหน้างานไลน์เย็บ 2 คน พนักงาน QC 5 คน หัวหน้างาน QC 1 คน พนักกงานอ๊อฟฟิส 4 คน ช่างซ่อมเครื่องจักร 1 คน ช่างเย็บตัวอย่าง 1 คน ช่างเย็บแพ็ทเทิร์น 1 คน พนักงานทั่วไปอีก 4 คน รวม เป็นชาย 5 หญิง 36 คน ใช้เครื่องจักร 6-7 เครื่อง เช่น หากเย็บกางเกงของไทรอัมพ์ 1,000 ตัว คนงานฝ่ายผลิตเย็บ 60-70 ขั้นตอนจะทำเสร็จภายใน 2 สัปดาห์


รายได้ สวัสดิการ และสิ่งแวดล้อมในการทำงาน


ค่า จ้างของพนักงานฝ่ายผลิตใช้ระบบค่าจ้างขั้นต่ำ จากเริ่มแรกวันละ 100 กว่าบาท จนถึงปัจจุบันปรับขึ้นตามนโยบายของรัฐบาล เป็นวันละ 203 บาท มีเบี้ยขยันสำหรับทุกคน แต่รางวัลผลผลิตซึ่งให้เมื่อสามารถผลิตได้เกินวันละ 200 ตัว ซึ่งจะให้แก่ฝ่ายผลิต เท่านั้น ไม่มีโบนัสประจำปี ค่าล่วงเวลาชั่วโมงละประมาณ 30 บาท หรือ 1.5 เท่าของค่าแรง ค่าแรงของคนงาน นายจ้างไม่เคย จะปรับให้ ยกเว้นรอให้มีการประกาศจากรัฐเท่านั้น ซึ่งขึ้นให้เพียงน้อยนิด

เวลา การทำงานปกติ เริ่ม 8.00-17.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน 1 ชั่วโมง หากต้องทำงานโอทีถึง 19.00 น. ก็จะทำงาน ต่อเนื่องโดยไม่พัก แต่หากรับทำโอทีถึง 20.00 น. จะหยุดพัก 30 นาทีหลังเลิกงาน 17.00 น.

สวัสดิการของพนักงาน ราย วันไม่มีสิทธิได้ค่าจ้างในวันลา ยกเว้นจะได้รับค่ารักษาพยาบาลหากนอนรักษาตัวในโรงพยาบาล ไม่มีงานเลี้ยงปีใหม่เป็นประจำทุกปี ไม่เคยมีการจัดนำเที่ยว ไม่มีรถรับ-ส่งใดๆ คนงานคนหนึ่งสะท้อนว่านายจ้างไม่มีน้ำใจเลย

สภาพ โรงงาน ในช่วงแรกมีสภาพดี ห้องน้ำสะอาดและเพียงพอ ไม่แออัด หลังคาสูง เครื่องจักรมีเสียงดังเล็กน้อย แต่พบว่า มีฝุ่นจาก ผ้าจำนวนมาก ใช้พัดลมเท่านั้น และมีช่องระบายอากาศ เวลาทำงานต้องใช้ผ้าปิดจมูก มีร้านค้าขายอาหารในราคาถูกจานละ 15 บาท ขายในโรงงาน มีเครื่องกรองน้ำ มีแม่บ้านทำความสะอาดประจำ

แต่ ด้วยเวลาเนิ่นนานจนถึงปัจจุบัน สภาพแย่ลง คือ ไม่มีโรงอาหารมาเป็นเวลา 1 ปี ต้องออกไปทานข้างนอก ราคาจานละ 25 บาท ดื่มน้ำประปาเพราะเครื่องกรองเสีย แม่ บ้านทำความสะอาดมาทำงานบ้างไม่มาบ้าง คนงานต้องช่วยกันทำความสะอาดห้องน้ำ เช็ดหลอดไฟ พัดลมจำนวน 10 กว่าตัว อากาศในห้องทำงานแม้จะโล่ง แต่ร้อนมาก มีฝุ่นเกาะมากมาย คนงานคนหนึ่งเล่าว่า ทำงาน 1-2 ชั่วโมง เหงื่อก็ไหลย้อยแล้ว

คน งานคนหนึ่งบอกว่า ต้องใช้ผ้าปิดจมูก แม้กระนั้นก็เจ็บป่วยจากการทำงาน เช่น น้ำมูกไหล เป็นหวัด และหายใจไม่สะดวก แต่ก็รักษาหาย และยังปวดเมื่อยตามร่างกายหากวันไหนทำงานหนักมาก เมื่อถึงบ้านก็จะนอนหลับทันที อีกคนหนึ่งเล่าว่า นอกจากจะเป็นหวัด น้ำมูกไหล แล้วยังเป็นกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ในช่วงที่ทำโอทีมากๆ งานเร่งด้วย เพื่อนคนงานบางรายถึงขั้นแน่นหน้าอก อึดอัดหายใจไม่ออก

ผลกระทบต่อครอบครัวของคนงาน


คนงานส่วนใหญ่เป็นผู้มีรายได้น้อย และมีครอบครัว และไม่มีทางเลือกในการเปลี่ยนอาชีพ เปลี่ยนสถานที่ทำงาน ด้วย เหตุนี้เมื่อถูก เลิกจ้างจึงตกอยู่ในสถานะลำบาก เช่น ต้องกู้เงินนอกระบบ ใช้เงินออมที่มีเพียงจำนวนน้อย เป็นต้น ดังจะเห็นจากกรณีตัวอย่างนี้

คนงานเย็บผ้าคนหนึ่ง (ไม่เอ่ยนาม) อายุ 51 ปี มีลูกสาว 2 คน คนโตอายุ 23 ปี กำลังทำงาน คนเล็กอายุ 18 ปีกำลังเรียนปริญญาตรี หย่าร้างกับสามีแล้ว อยู่ที่สมุทรสาครเพียงคนเดียว ส่วนลูกๆ อยู่กับจังหวัดเชียงรายกับพ่อ ซึ่งมีอาชีพทำนาทำไร่

เริ่ม ทำงานที่บริษัทเวิลด์เวลการ์เมนท์เมื่อปีพ.ศ.2536 ตอนอายุได้ 35 ปี มีหน้าที่เย็บผ้าส่งออก โดยผลิตตามออเดอร์ของยี่ห้อดัง เช่น เสื้อแจ็คเก็ตดิสนีย์ ช่วงแรกค่าแรงวันละ 100 กว่าบาท ทำงานตั้งแต่ 8.00-17.00 น. ได้ และในช่วงที่มีออเดอร์เข้ามามากจะมีรายได้ ทั้งหมดประมาณ 3,000-4,000 บาท/วีค แต่ไม่มีสวัสดิการ หากลางานไม่ว่าลากิจ ลาป่วยจะไม่ได้รับค่าแรงในวันนั้น ยกเว้นนอนป่วย ในโรงพยาบาล ก่อนถูกเลิกจ้าง ซึ่งเป็นช่วงไม่มีโอที มีรายได้ประมาณ 2,500/วีค ลดลงกว่าเดิมมาก

หลัง จากถูกเลิกจ้างและไม่ได้รับค่าจ้างมาตั้งแต่เดือนมีนาคม คุณป้าคนนี้ต้องนำเอาเงินออมที่เหลือมาใช้จ่ายประจำวันซึ่งใกล้จะหมด แล้ว แต่โชคดีที่อยู่ตัวคนเดียวมีภาระเพียงส่งลูกคนเล็กเรียนปริญญาตรี และอดีตสามีช่วยแบ่งเบาภาระด้วย คุณป้าทำงานและ สามารถส่งลูกคนโตเรียนจบและทำงานได้ ตอนนี้มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นคือ ค่าเช่าบ้านเดือนละ 1,500 บาทของเดือนพฤษภาคมนี้ ก่อนหน้านี้อาศัยหอพักของบริษัท มีค่าใช้จ่ายคือ ค่าอาหารวันละประมาณ 100 บาท ค่าเดินทางวันละ 20 บาทเพื่อมาชุมนุมหน้า โรงงานตั้งแต่วันที่ 3 พฤษภาคม 2552

คนงานตรวจสอบคุณภาพคน หนึ่งอายุ 35 ปี ให้สัมภาษณ์ว่า ทำงานที่บริษัทแห่งนี้เป็นเวลา 5 ปี 6 เดือนแล้ว ก่อนเลิกจ้างมีราย ได้วีคละ 3,000 บาท ไม่ได้รับค่ารางวัลผลผลิต ค่าเบี้ยขยัน เพราะเป็นตำแหน่งตรวจสอบคุณภาพ ต้องรับภาระเลี้ยงดูลูก 2 คน ซึ่งกำลังเรียนม. 4 และป.2 ดูแลพ่อและแม่ของตัวเอง อาศัยบ้านของพ่อแม่ ไม่ต้องเช่า วันหนึ่งต้องใช้จ่ายวันละ 150-180 บาท เมื่อถูกโกงค่าแรง ค่าชดเชย ทำให้ไม่สามารถหาเงินมาเป็นค่าเทอมของลูกๆ จึงต้องกู้ยืมเงินนอกระบบเป็นจำนวนหลักหมื่น ดังนั้นจึงได้ไปสมัครงานใหม่ที่บริษัทกระทิงแดง แต่ยังไม่ทราบผล.



http://www.thailabour.org