โดย พัชนี ขำนาค
รายงานฉบับนี้เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับพนักงานบริษัทเวิลด์เวลล์การ์เมนท์ จำกัด จำนวน 41 คนที่ถูกเลิกจ้างอย่างไม่เป็นธรรม เนื่องจากนายจ้างไม่บอกล่วงหน้า อีกทั้งก่อนหน้านี้ ยังปรับลดเงินเดือนของพนักงานรายเดือน และค้างจ่ายเงินเดือนพนักงาน รายเดือนและรายวันเป็นเวลา 2 เดือนคือ เดือนมีนาคมและเมษายน และปิดกิจการโดยไม่จ่ายค่าชดเชย เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2552 นายจ้างอ้างว่าขาดทุน ไม่มีออเดอร์ (order) เข้ามา แต่ในขณะที่บริษัทในเครืออื่นๆ ยังคงดำเนินกิจการและรับสมัคร พนักงานเพิ่ม ส่วน เครื่องจักรและอุปกรณ์อื่นๆ ยังคงอยู่ครบ ไม่มีการขายทอดตลาด คนงานที่ถูกเลิกจ้างจึงต้องนั่งชุมนุม เฝ้าเครื่องจักรหน้าโรงงานทุกวันนับ ตั้งแต่ถูกเลิกจ้างเพื่อป้องกันการขนย้าย
นับตั้งแต่ถูกเลิกจ้าง พนักงานทั้งหมดพยายามต่อสู้และตอบโต้นายจ้างทุกวิถีทางเพื่อให้ทำตามข้อเรียกร้อง คือ ให้นายจ้างจ่าย ค่าชดเชย ค่าจ้างค้างจ่าย และค่าไม่บอกกล่าวล่วงหน้า จนขณะนี้ นายจ้างได้จ่ายค่าจ้างค้างจ่ายแก่พนักงานรายวันเท่านั้น เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2552 รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 70,000 บาท จาก จำนวนทั้งหมดที่ต้องจ่ายแก่ทุกคนประมาณ 2,400,000 บาท ทำให้ต้องมี การกดดันต่อไป ไม่ว่าจะเป็นวิธียื่นคำร้องต่อรัฐมนตรีกระทรวงแรงงาน เจ้าหน้าที่สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน การรณ รงค์ทางสื่อ การชุมนุม ประท้วงหน้าบริษัทแม่ เป็นต้น แต่อีก ด้าน นายจ้างยังคงลอยนวล ไม่ถูกดำเนินคดีตามกฎหมายแต่อย่างใด และส่งทนายมาเป็นตัวแทนพบลูกจ้างทุกครั้ง พนักงานคนหนึ่งรู้สึกว่า นายจ้างไม่สนใจพนักงานเลยแม้แต่น้อย การทำงานของ ข้าราชการก็เป็นไปอย่างล่าช้า และกฎหมายเข้าข้างนายจ้าง
บริษัทเวิลด์เวลล์การ์เมนท์ จำกัด ผลิตเสื้อผ้ายี่ห้อดัง เช่น ดิสนีย์ ฮา เลย์ เดวิดสัน สคูล ไทรอัมพ์ เป็นต้น รับออเดอร์ผ่านบริษัทตัว แทนในประเทศไทย บริษัทเวิลด์เวลล์การ์เมนท์ เป็นบริษัทในเครือของบริษัทเวิลด์คัพ อินดัสทรี่ จำกัด ซึ่งมีเจ้าของคนเดียวกันคือ นายกิจจา จรุงผลพิพัฒน์
ข้อมูลต่อไปนี้จะแสดงถึงลักษณะการดำเนินกิจการของบริษัท การผลิตสินค้ายี่ห้อดัง ที่มุ่งแสวงหากำไร บนหยาดเหงื่อและค่าแรง ราคาถูก รวมไปถึงการบริหารงานที่เอารัดเอาเปรียบพนักงาน และผลกระทบต่อครอบครัวคนงานที่ถูกเลิกจ้าง
การดำเนินกิจการของบริษัทเวิลด์เวลล์การ์เมนท์ จำกัด
บริษัทเริ่มเปิดกิจการเมื่อปี พ.ศ.2537 ด้วยทุนจดทะเบียนปัจจุบัน 25 ล้านบาท กรรมการผู้จัดการใหญ่คือ นายกิจจา จรุงผลพิพัฒน์ ตั้งอยู่เลขที่ 14 หมู่ 7 ถนน เศรษฐกิจ ต.นาดี อ.เมือง จ.สมุทรสาคร โทรศัพท์ 662-8996721 แฟกซ์ 662-4151821 เวิลด์เวลล์การ์ เมนท์เป็นบริษัทในเครือของบริษัท เวิลด์คัพอินดัสทรี่ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทแม่ ตั้งอยู่ที่110/3-4 ถ.เอกชัย เขตบางบอน กรุงเทพฯ และยังมีบริษัทในเครืออีก 4 บริษัท คือ 1.บริษัทเอเซียเวิลด์บรา จำกัด ถนนสุขสวัสดิ์ซอย 11 บางประกอก ราษฎร์บูรณะ กรุงเทพ ฯ 2.บริษัทไทยเวิลด์อิลาสติค จำกัด 110/3-4 ถ.เอกชัย แขวงบางบอน กรุงเทพฯ 3.บริษัท ทรัพย์อรุณ จำกัด (อาคารพานิชย์) อยู่หน้าบริษัทเวิลด์เวลล์ การ์เมนท์ จำกัด 4.บริษัทธนาคม (ทำตลาด) อยู่ที่บางแค
แรกเริ่มมีพนักงานประมาณ 500 คน มีเครื่องจักรอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ทันสมัยจำนวน 60 เครื่องๆ ละประมาณ 2 ล้านกว่าบาท แบ่งสายการผลิตทั้งหมด 6 line คือ line A-F ตามลำดับ
ลักษณะการรับงานของลูกค้า บริษัทรับออเดอร์จากยี่ห้อดังจากต่างประเทศ ผ่านตัวแทนในประเทศไทย เช่น
- ปีพ.ศ. 2546 รับผลิตเสื้อของยี่ห้อดิสนีย์
- ปีพ.ศ.2547-2549 ผลิ ตออเดอร์ของลูกค้าบริษัทตัวแทนในประเทศไทย คือ วีเอฟ จำนวนหลายยี่ห้อ เช่น ฮาเล่ย์เดวิดสัน เครีน รีบ็อค แอนติกัว ซึ่งแต่ละยี่ห้อ สั่งผลิตเป็นจำนวนมาก จึงทำให้มีการทำงานล่วงเวลา (โอที) กันอย่างต่อเนื่อง และมากจนกระทั่งบริษัทเวิลด์เวลล์ การ์เมนท์ ได้ส่งงานจำนวนหนึ่งไปให้โรงงานเหมาช่วง (Sub-contract) ทำที่อำเภอแม่สอด ได้แก่ บริษัทเสียงไถ่, ทรัพย์มั่นคง ,ฟูลี่ไทร์, อรุณชัยเท็กซ์ไทน์, เอ.ที.การ์เม้นท์
- ปีพ.ศ.2550 ผลิตยี่ห้อสคูล, คารีน่า, จ็อกกี้, สโนว์แอนด์ซัน, เอสแฟร์ พนักงานทำงานโอทีเป็นบางช่วง เพราะบริษัทเริ่มส่งเสื้อผ้าให้โรงงานเหมาช่วงทำเป็นจำนวนมาก
- ปีพ.ศ.2551 ผลิตยี่ห้อไทรอัมพ์, สคูล, แอฟพาเรีย, แดเนียล, แอลแอลบีน, มามอท, แต่บริษัทได้ลดโอทีของพนักงานทั้งหมด เนื่องจากบริษัทส่งออเดอร์ไปตามโรงงานเหมาช่วงเกือบทั้งหมดจนถึงปี พ.ศ.2552 ให้คนงานพม่าทำด้วยค่าแรงราคาถูก
บริษัท เริ่มลดคนงานในช่วงระยะ 5 ปีที่ผ่านมา บวกกับคนงานทยอยลาออกโดยสมัครใจเป็นจำนวนมาก เพราะรายได้น้อยมาก ไม่มีโอที และสวัสดิการเทียบเท่าโรงงานใกล้เคียง จากทั้งหมดที่มี 500 คน เหลือ 300 คน จนล่าสุดเหลือเพียง 41 คน ทำงานกับเครื่องจักร 30 กว่าเครื่อง ที่เหลือวางชิดมุมห้อง แม้ว่าจะให้คนงานพม่าผลิต แต่คนงานที่สมุทรสาครต้องมาแก้ไขงาน เสื้อผ้าต้องถูกนำมาซ่อม เช่น นำกลับมา 1,000 กว่าตัว แก้ไข 3-4 จุดจึงจะสมบูรณ์
และในช่วง 2-3 ปีล่าสุด ที่บริษัทรับงานเหมาช่วงผลิตเสื้อผ้าจากโรงงานไทรอัมพ์ในเมืองไทย บริษัทนานๆ จะปล่อยให้ทำโอทีบ้าง จนในที่สุดเริ่มมีมาตรการทีละขั้น ได้แก่ 1) ลดเงินเดือนของพนักงานรายเดือน เป็นเวลา 2 เดือน จากเงินเดือน 10,000 กว่าบาท เหลือจ่ายให้เพียง 6,000-8,000 บาท 2) ลดเบี้ยขยัน ไม่จ่ายเงินพักร้อนของพนักงานรายวัน/รายเดือน 3) ไม่ได้รับเงินในวันที่มีสิทธิลาป่วย ลากิจ และ 4) พนักงานทั้งหมด 41 คนถูกเลิกจ้างโดยไม่มีการบอกกล่าวล่วงหน้า จากจำนวนนี้ มีพนักงานรายเดือน 8 คนและสายการผลิต 33 คน
กระบวนการผลิตเสื้อผ้า
ช่วงเปิดกิจการ จากคนงานทั้งสิ้น 500 คน ทุกคนเป็นพนักงานประจำ ผ่านการทดลองงานและรับบรรจุเป็นพนักงาน ในกระบวนการ ผลิตประกอบด้วย พนักงานฝ่ายผลิตประจำไลน์ (line) ทั้งหมด 6 ไลน์ ได้แก่ line A-F แต่ละไลน์มีคนงานจำนวน 50 คน และเครื่อง จักรไลน์ละ 6-7 เครื่อง
การ ตัดเย็บเสื้อผ้ายี่ห้อดังจะมีหลายขั้นตอน เช่น เย็บเสื้อถึงร้อยขั้นตอน โดยเฉพาะเสื้อแจ็กเก็ตของดิสนีย์ มีลวดลายมาก จึงมีความ ยากกว่าการเย็บกางเกงของไทรอัมพ์ ซึ่งใช้ขั้นตอนเย็บ 60-70 ขั้นตอน แต่ด้วยเครื่องจักรทันสมัยทำให้งานลุล่วงได้เป็นอย่างดี คน งานคนหนึ่งเล่าว่า สินค้าที่คนงานเวิลด์เวลล์ผลิต ลูกค้าขายได้ทุกชิ้น หรือในบางครั้งโกดังแทบไม่มีสินค้าค้าง หากจะเหลือก็จำนวน น้อยเฉพาะที่เป็นของตำหนิ สามารถสร้างกำไรให้นายจ้าง เช่น ช่วง ปี 47-49 ที่ยี่ห้องดิสนีย์ส่งออเดอร์มายังบริษัทจำนวน 4,000-5,000 ตัวต่อครั้ง จำนวน 2 ครั้ง/สัปดาห์ ฉะนั้นสัปดาห์หนึ่งจะรับออเดอร์มาประมาณ 10,000 ตัว และมีตู้คอนเทนเนอร์มารับสินค้า ถึงที่ คนงานต้องทำงานโอทีถึงวันละ 4 ชั่วโมง ขยายการทำงาน ทำงานหนัก พักผ่อนน้อย
บริษัทเริ่มมีนโยบายให้แต่ละไลน์ทำงานแบบเหมาช่วงในช่วงปี 2548 เพื่อให้ได้กำไรสูงสุด จำนวนผลผลิตมากขึ้น ใช้ ระบบแข่งขัน กันทำยอดการผลิต คือ หากสามารถทำยอดได้เกิน 200 ตัว ทุกคนจะได้เงินรางวัลผลผลิต เบี้ยขยัน ค่าฝีมือสำหรับคนที่เย็บใน ตำแหน่งที่ยาก-ง่ายตามลำดับ ดังนั้น หากทำยอดเกินจะได้รับรายได้คนละประมาณ 100-300/วีค คนงานคนหนึ่งซึ่งทำงานมาเป็นเวลานาน มีฝีมือในการเย็บเสื้อผ้าได้ทุกตำแหน่งไม่ว่ายากหรือง่าย เช่น ส่วนแขน และส่วนอื่นๆ เล่าให้ฟัง และด้วยนโยบายดังกล่าว กดดันให้คนงานลาออกเป็นจำนวนมาก
คน งานคิวซีคนหนึ่ง เล่าว่า บริษัทได้กำไรจากเสื้อผ้าตัวหนึ่งมากกว่าค่าแรงที่จ่ายให้คนงาน กล่าวคือ คนงานทำงานด้วยค่าแรงวันละ 203 บาท ผลิตเสื้อผ้าประมาณวันละ 200 ตัว นายจ้างส่งงานให้ตัวแทนยี่ห้อในประเทศไทยในราคาตัวละ 700 บาท (ราคาอาจต่างกันตามยี่ห้อ) หรือเช่นสินค้าไทรอัมพ์ หากยิงป้ายจากบริษัทไปจะเป็นราคา 1,950 บาทต่อตัว หรือ 1,600 บาท แล้วแต่ชนิด ซึ่งราคาเหล่านี้แพงกว่าค่าแรงที่จ่ายให้พนักงาน
ปัจจุบันการผลิตลดขนาดลง ด้วยคนงาน 41 คน ประกอบด้วย พนักงานเย็บผ้า 22 คน หัวหน้างานไลน์เย็บ 2 คน พนักงาน QC 5 คน หัวหน้างาน QC 1 คน พนักกงานอ๊อฟฟิส 4 คน ช่างซ่อมเครื่องจักร 1 คน ช่างเย็บตัวอย่าง 1 คน ช่างเย็บแพ็ทเทิร์น 1 คน พนักงานทั่วไปอีก 4 คน รวม เป็นชาย 5 หญิง 36 คน ใช้เครื่องจักร 6-7 เครื่อง เช่น หากเย็บกางเกงของไทรอัมพ์ 1,000 ตัว คนงานฝ่ายผลิตเย็บ 60-70 ขั้นตอนจะทำเสร็จภายใน 2 สัปดาห์
รายได้ สวัสดิการ และสิ่งแวดล้อมในการทำงาน
ค่า จ้างของพนักงานฝ่ายผลิตใช้ระบบค่าจ้างขั้นต่ำ จากเริ่มแรกวันละ 100 กว่าบาท จนถึงปัจจุบันปรับขึ้นตามนโยบายของรัฐบาล เป็นวันละ 203 บาท มีเบี้ยขยันสำหรับทุกคน แต่รางวัลผลผลิตซึ่งให้เมื่อสามารถผลิตได้เกินวันละ 200 ตัว ซึ่งจะให้แก่ฝ่ายผลิต เท่านั้น ไม่มีโบนัสประจำปี ค่าล่วงเวลาชั่วโมงละประมาณ 30 บาท หรือ 1.5 เท่าของค่าแรง ค่าแรงของคนงาน นายจ้างไม่เคย จะปรับให้ ยกเว้นรอให้มีการประกาศจากรัฐเท่านั้น ซึ่งขึ้นให้เพียงน้อยนิด
เวลา การทำงานปกติ เริ่ม 8.00-17.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน 1 ชั่วโมง หากต้องทำงานโอทีถึง 19.00 น. ก็จะทำงาน ต่อเนื่องโดยไม่พัก แต่หากรับทำโอทีถึง 20.00 น. จะหยุดพัก 30 นาทีหลังเลิกงาน 17.00 น.
สวัสดิการของพนักงาน ราย วันไม่มีสิทธิได้ค่าจ้างในวันลา ยกเว้นจะได้รับค่ารักษาพยาบาลหากนอนรักษาตัวในโรงพยาบาล ไม่มีงานเลี้ยงปีใหม่เป็นประจำทุกปี ไม่เคยมีการจัดนำเที่ยว ไม่มีรถรับ-ส่งใดๆ คนงานคนหนึ่งสะท้อนว่านายจ้างไม่มีน้ำใจเลย
สภาพ โรงงาน ในช่วงแรกมีสภาพดี ห้องน้ำสะอาดและเพียงพอ ไม่แออัด หลังคาสูง เครื่องจักรมีเสียงดังเล็กน้อย แต่พบว่า มีฝุ่นจาก ผ้าจำนวนมาก ใช้พัดลมเท่านั้น และมีช่องระบายอากาศ เวลาทำงานต้องใช้ผ้าปิดจมูก มีร้านค้าขายอาหารในราคาถูกจานละ 15 บาท ขายในโรงงาน มีเครื่องกรองน้ำ มีแม่บ้านทำความสะอาดประจำ
แต่ ด้วยเวลาเนิ่นนานจนถึงปัจจุบัน สภาพแย่ลง คือ ไม่มีโรงอาหารมาเป็นเวลา 1 ปี ต้องออกไปทานข้างนอก ราคาจานละ 25 บาท ดื่มน้ำประปาเพราะเครื่องกรองเสีย แม่ บ้านทำความสะอาดมาทำงานบ้างไม่มาบ้าง คนงานต้องช่วยกันทำความสะอาดห้องน้ำ เช็ดหลอดไฟ พัดลมจำนวน 10 กว่าตัว อากาศในห้องทำงานแม้จะโล่ง แต่ร้อนมาก มีฝุ่นเกาะมากมาย คนงานคนหนึ่งเล่าว่า ทำงาน 1-2 ชั่วโมง เหงื่อก็ไหลย้อยแล้ว
คน งานคนหนึ่งบอกว่า ต้องใช้ผ้าปิดจมูก แม้กระนั้นก็เจ็บป่วยจากการทำงาน เช่น น้ำมูกไหล เป็นหวัด และหายใจไม่สะดวก แต่ก็รักษาหาย และยังปวดเมื่อยตามร่างกายหากวันไหนทำงานหนักมาก เมื่อถึงบ้านก็จะนอนหลับทันที อีกคนหนึ่งเล่าว่า นอกจากจะเป็นหวัด น้ำมูกไหล แล้วยังเป็นกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ในช่วงที่ทำโอทีมากๆ งานเร่งด้วย เพื่อนคนงานบางรายถึงขั้นแน่นหน้าอก อึดอัดหายใจไม่ออก
ผลกระทบต่อครอบครัวของคนงาน
คนงานส่วนใหญ่เป็นผู้มีรายได้น้อย และมีครอบครัว และไม่มีทางเลือกในการเปลี่ยนอาชีพ เปลี่ยนสถานที่ทำงาน ด้วย เหตุนี้เมื่อถูก เลิกจ้างจึงตกอยู่ในสถานะลำบาก เช่น ต้องกู้เงินนอกระบบ ใช้เงินออมที่มีเพียงจำนวนน้อย เป็นต้น ดังจะเห็นจากกรณีตัวอย่างนี้
คนงานเย็บผ้าคนหนึ่ง (ไม่เอ่ยนาม) อายุ 51 ปี มีลูกสาว 2 คน คนโตอายุ 23 ปี กำลังทำงาน คนเล็กอายุ 18 ปีกำลังเรียนปริญญาตรี หย่าร้างกับสามีแล้ว อยู่ที่สมุทรสาครเพียงคนเดียว ส่วนลูกๆ อยู่กับจังหวัดเชียงรายกับพ่อ ซึ่งมีอาชีพทำนาทำไร่
เริ่ม ทำงานที่บริษัทเวิลด์เวลการ์เมนท์เมื่อปีพ.ศ.2536 ตอนอายุได้ 35 ปี มีหน้าที่เย็บผ้าส่งออก โดยผลิตตามออเดอร์ของยี่ห้อดัง เช่น เสื้อแจ็คเก็ตดิสนีย์ ช่วงแรกค่าแรงวันละ 100 กว่าบาท ทำงานตั้งแต่ 8.00-17.00 น. ได้ และในช่วงที่มีออเดอร์เข้ามามากจะมีรายได้ ทั้งหมดประมาณ 3,000-4,000 บาท/วีค แต่ไม่มีสวัสดิการ หากลางานไม่ว่าลากิจ ลาป่วยจะไม่ได้รับค่าแรงในวันนั้น ยกเว้นนอนป่วย ในโรงพยาบาล ก่อนถูกเลิกจ้าง ซึ่งเป็นช่วงไม่มีโอที มีรายได้ประมาณ 2,500/วีค ลดลงกว่าเดิมมาก
หลัง จากถูกเลิกจ้างและไม่ได้รับค่าจ้างมาตั้งแต่เดือนมีนาคม คุณป้าคนนี้ต้องนำเอาเงินออมที่เหลือมาใช้จ่ายประจำวันซึ่งใกล้จะหมด แล้ว แต่โชคดีที่อยู่ตัวคนเดียวมีภาระเพียงส่งลูกคนเล็กเรียนปริญญาตรี และอดีตสามีช่วยแบ่งเบาภาระด้วย คุณป้าทำงานและ สามารถส่งลูกคนโตเรียนจบและทำงานได้ ตอนนี้มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นคือ ค่าเช่าบ้านเดือนละ 1,500 บาทของเดือนพฤษภาคมนี้ ก่อนหน้านี้อาศัยหอพักของบริษัท มีค่าใช้จ่ายคือ ค่าอาหารวันละประมาณ 100 บาท ค่าเดินทางวันละ 20 บาทเพื่อมาชุมนุมหน้า โรงงานตั้งแต่วันที่ 3 พฤษภาคม 2552
คนงานตรวจสอบคุณภาพคน หนึ่งอายุ 35 ปี ให้สัมภาษณ์ว่า ทำงานที่บริษัทแห่งนี้เป็นเวลา 5 ปี 6 เดือนแล้ว ก่อนเลิกจ้างมีราย ได้วีคละ 3,000 บาท ไม่ได้รับค่ารางวัลผลผลิต ค่าเบี้ยขยัน เพราะเป็นตำแหน่งตรวจสอบคุณภาพ ต้องรับภาระเลี้ยงดูลูก 2 คน ซึ่งกำลังเรียนม. 4 และป.2 ดูแลพ่อและแม่ของตัวเอง อาศัยบ้านของพ่อแม่ ไม่ต้องเช่า วันหนึ่งต้องใช้จ่ายวันละ 150-180 บาท เมื่อถูกโกงค่าแรง ค่าชดเชย ทำให้ไม่สามารถหาเงินมาเป็นค่าเทอมของลูกๆ จึงต้องกู้ยืมเงินนอกระบบเป็นจำนวนหลักหมื่น ดังนั้นจึงได้ไปสมัครงานใหม่ที่บริษัทกระทิงแดง แต่ยังไม่ทราบผล.
http://www.thailabour.org
Comments (0)
Post a Comment